
การทำกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นคุณสมบัติขององค์กรที่ดีจริงหรือ?
“อาแมนด้า เจอร์เวย์”ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้เขียนบทความถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึง “การทำในสิ่งที่ดีงาม” สำหรับองค์กรต่าง ๆ เรามักคิดถึงการริเริ่มทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่หรือครอบคลุมในภาพกว้าง เช่น โครงการด้านสิ่งแวดล้อมหรือการบริจาคเพื่อการกุศล ทว่าแม้หน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ จะพยายามสร้างสรรค์กิจกรรมตอบแทนสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองเห็นและรับรู้กันอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกตัวตนของบริษัทของคุณได้เสมอไป
ในการก้าวผ่านวิกฤติจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ การทำที่เหมาะสมดีงามจะเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างใหักับธุรกิจ สิ่งที่หลายคนกำลังพูดถึงในช่วงนี้คือปรากฎการณ์การลาออกระลอกใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน (Great Resignation) แต่จากมุมมองของผู้เขียนคิดว่าสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือการคิดทบทวนครั้งยิ่งใหญ่ (Great Re-evaluation) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ผู้คนเริ่มตระหนักและตั้งคำถามถึงแนวทางการทำงานของตนเอง หลายคนพยายามเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง
แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวเพื่อรับมือสภาวะโลกร้อนนั้นเป็นสิ่งที่กล้าหาญ แต่ในขณะเดียวกันอาจกำลังมีผู้ที่ต้องทนทุกข์จากวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งตัวพนักงานและครอบครัวของพวกเขาด้วย การทำสิ่งที่เหมาะสมดีงามจำเป็นต้องพิจารณาในระดับพื้นฐานกว่านั้น ซึ่งอาจเป็นทั้งในเชิงรูปธรรมที่ประจักษ์สู่สายตาของสังคม หรือในรูปแบบที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าผ่านการจัดทำโครงการที่ไม่ได้คาดหวังการรับรู้จากสาธารณชนก็ได้
บางคนก็พยายามหาโอกาสใหม่ ๆ ที่ยืดหยุ่นและสามารถบริหารจัดการให้เหมาะสมกับตนเอง หรือเลือกงานที่จะสามารถเติมเต็มให้ชีวิตของพวกเขาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในสภาพการณ์ของตลาดแรงงานเช่นนี้ ความเหมาะสมดีงามของวัฒนธรรมองค์กรจึงอาจกลายเป็นจุดพลิกผันที่สามารถดึงดูดพนักงานใหม่สู่องค์กรและสามารถรักษาพนักงานในปัจจุบันไว้พร้อมกัน
อย่างไรก็ตามการสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมและมีความเฉพาะตัว และควรคำนึงถึงความจริงที่ว่า “ไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใดที่จะเหมาะสมกับทุกองค์กร”